วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

ระดับการเรียนรู้ของ Bloom 1.ความรู้ที่เกิดจากการจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.ความเข้าใจ (Comprehend)
3.การประยุกต์ (Application)
4.การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา
5.การสังเคราะห์ (Synthesis)
6.การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayer

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นสิ่งที่สำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน

1.พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2.เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ
3.มาตราฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner

1.ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
2.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.เนื่อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Tylor

1.ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
2.การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
3.บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์การเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne

1.การจูงใจ (Motivation  Phase)
2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase )
3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)
4.ความสามรถในการจำ (Retention Phase)
5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase )

    การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้

การรับรู้ (Perception)

                การรับรู้เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆจะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วยประสาทสัมผัสและปัจจัยทางจิต ได้แก่ ความรู้เดิม ความต้องการและเจตคติ เป็นต้น

หลักการรับรู้ในทางการศึกษาที่สำคัญ

1.การรับรู้จะพัฒนาตามวัย และความสามารถทางสติปัญญาที่จะรับรู้สิ่งภายนอกอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.การรับรู้โดยการเห็น จะก่อให้เกิดความเข้าใจดีกว่าการได้ยินและประสาทสัมผัสอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสมาก จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.ลักษณะและวิธีการรับรู้บุคลิกภาพ และจะแสดงออกตามที่ได้รับรู้และเจตคติของเขา
4.การเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้านคุณลักษณะและสภาพแวดล้อม จะเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนการสอน

การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

1.ธอร์นไดค์ (Thorndike) กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งว่า สถานการณ์ทั้งสองจะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และเจตคติ ที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม
2.เกสตัลท์ (Gestalt) กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหาและรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้

1.การถ่ายโยง ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ ความคิด เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
2.ผู้สอนควรใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวางซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
3.การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องคำนึงหลักการดังกล่าว

การสื่อความหมาย (Communication)

     การสื่อความหมายเป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์เดียวกัน การสื่อความหมายมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Commus แปลว่าคล้ายคลึง หรือร่วมกัน ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า Communication
     การสื่อความหมายจึงเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้เนื้อหาสาระ  ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจน ประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ"
 การสื่อความหมาย เป็นการส่งข่าวสารความคิดเห็นระหว่างบุคคล อาจส่งผ่านทางเสียง ทำให้เกิดการได้ยินจากอวัยวะการรับเสียง เช่น เสียงพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงลมพายุ หรือสิ่งที่ส่งออกมาเป็นภาพ เห็นด้วยตา เช่น การเขียนเป็นหนังสือ  รูปภาพ สัญญาณต่างๆเช่น สัญญาณไฟ ท่าทางต่างๆรวมทั้งการส่งข่าวสารที่ผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆของมนุษย์ด้วย

โครงสร้างและองค์ประกอบของกระบวนการสื่อความหมาย

กระบวนการสื่อความหมายจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบดังนี้

1.ผู้ส่ง (Source or Sender) คือ แหล่งกำเนิดสารหรือบุคคลที่มีเจตนาและส่งสารไปยังผู้รับ อาจเป็นคน สัตว์ องค์การ หรือ หน่วยงาน
2.สาร (Message) คือ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทัศนะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
3.ช่องทาง (Channel) คือ ช่องทางต่างๆที่ใช้ในการรับรู้สาร ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยอาศัยสื่อต่างๆ เป็นพาหนะ เช่นรูป เสียง ความรู้สึกสัมผัส กลิ่น รส เป็นต้น
4.ผู้รับ (Receiver) คือ บุคคล องค์การ หรือหน่วยงาน ที่รับรู้สารจากผู้ส่งเข้าสู่ตนเองโดยผ่านช่องทางและสื่อต่างๆในข้อ 3.

พจนานุกรมการศึกษาของ คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการสื่อความหมายไว้ 3 ความหมาย

          1.วิธีส่งความคิดเห็น ความรู้สึกจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดดยการแสดงท่าทาง สีหน้า การพูด การเขียน ใช้โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์และสัญญาณอื่นๆ
          2.การใช้เครื่องมือและกระบวนการ เทคนิคการพูด การใช้ภาษาในการสื่อความหมาย และการใช้โสตทัศน์ในการสื่อความหมาย
          3.กระบวนการสังคมมนุษย์ ใช้การติดต่อสื่อสาร ความคิด

การสื่อความหมายกับการเรียนการสอน

การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความมหายอย่างหนึ่งเพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือ

จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมาย

จุดมุ่งหมายสำคัญในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน หากการสื่อ
ปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้

จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียมและเลือกกสารในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการนำนักเรียนให้คิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสารประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุด และครูจะต้องรู้จักการเลือกและนำมาใช้นอกเหนือการจัดกิจกรรมการเรียน ก็คือ สื่อการเรียนการสอนนั่นเอง

          สรุปความสัมพันธ์ของการรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย

       จากที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการปฏิบัติที่กระทำซ้ำบ่อยๆ ซึ่งการที่มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต้องมีการรับรู้ก่อนซึ่งเราสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อเราคิดกระบวนการทั้งสองอย่างนี้แล้วก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ"
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น